Tuesday, April 16, 2013

เพลียแดด...เดือนเมษายน



เดือนที่โลกโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
จึงเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดสำหรับประเทศที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรอย่างประเทศไทย

เมื่อร้อนจัดเกินไป...อากาศร้อนลอยตัวสู่เบื้องบน
อากาศเย็นรอบข้างก็จะไหลเข้ามาทดแทน

ร้อนกระทบเย็นก็เกิดการควบแน่นเป็นสายฝน
ยิ่งร้อนเย็นต่างกันมากเท่าใด
การไหลของอากาศจะยิ่งรุนแรงเท่านั้น...

จนทำให้เกิด"พายุฤดูร้อน"ขึ้นมา
ชะล้างความร้อนอบอ้าวทั้งมวลให้หายไป
ช่างเป็นความงดงามของสมดุลโดยแท้....

ในร่างกายเราก็เช่นเดียวกัน
หากความร้อนสูงมาก ร่างกายก็จะเกิดการขับเหงื่อ
ทำให้ความร้อนในร่างกายลดลง
รู้สึกสบายตัว...
"เมื่อธาตุน้ำเกิดขึ้น ธาตุไฟย่อมอ่อนกำลังลง"

แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นหากร่างกายไม่ระบายความร้อนออกมา
เพื่อปรับสมดุล สุดท้ายจะทำให้เราเป็นไข้แดด

ไข้ที่เกิดจากแดด...
จะไม่เหมือนไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อภายใน
หรือเกิดจากการขาดน้ำเพราะท้องเสีย
เพราะเกิดจากเราโดนแดดมากเกินไป
ทำให้ความร้อนเข้ามาสะสมในร่างกาย
เราเพียงรีบไล่ความร้อนเหล่านี้ออกไป
ก็จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น...

กรณีแรกคือเป็นไม่มาก
จะเกิดอาการแค่เพลียแดด...
รู้สึกเหมือนเป็นไข้ ตัวรุมๆ
แนะนำให้ขับความร้อนออกทางเหงื่อ
ด้วยการบริหารร่างกายนิดหน่อย
เพราะเมื่อเหงื่อออก...
ความร้อนที่คั่งค้างไว้จะถูกระบายออกผ่านทางรูขุมขนทั่วทั้งร่างกายได้ทันที...
จากนั้นนอนพัก ตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึกดีขึ้น

หากเพลียจนไม่สามารถบริหารร่างกายได้
แนะนำให้เอาเพียงขาทั้งสองแช่น้ำร้อนจนเหงื่อออกก็ใช้ได้ดีเช่นกัน
(วิธีนี้ใช้ได้กับคนที่รู้สึกเพลียแดด เท่านั้นไม่ควรใช้กับคนที่เป็นไข้แล้ว)

หากความร้อนสะสมมากจนต้องนอนซม
แนะนำให้ระบายความร้อนไปกับปัสสาวะแทน
ดื่มน้ำบ่อยๆ แล้วปัสสาวะออกไป
จนปัสสาวะไม่ร้อน...
พยายามนอนพัก อย่าเพิ่งทำกิจกกรรมใดๆมาก
ทานให้น้อย อย่าทานหนักเกิน
ร่างกายจะฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น

สิ่งที่ไม่แนะนำในช่วงเพลียแดด...ก็คือ
1. ดื่มน้ำเย็น
2. อาบน้ำเย็น
3. เปิดแอร์เย็น
เพราะรูขุมขนจะปิดเหงื่อจะไม่ออก
ความร้อนจะระบายช้ามาก

แบ่งปันเทคนิค น้ำข่มไฟ!!! ให้แก่กันนะครับ

ธรรมชาติภายนอกเป็นเช่นไร...
ธรรมชาติภายในย่อมเป็นเช่นนั้น...

"ความรู้โบราณ อายุนับพันปี
ถ่ายทอดผ่านร้อยชั่วคน
แต่บางคน...ชั่วชีวิต กลับมิเคยได้รู้..."
โดย ผีเสื้อหน้าหยก

เคล็ดลับจากศาสตร์โบราณ เพื่อคนยุคใหม่
Facebook คันฉ่องสุขภาพ

Credit photo by
http://ipad.wallpapersus.com/water-fire-elements/

No comments:

Post a Comment